หมอจเด็จ เลขาสปสช. ลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ตรวจเยี่ยมคลินิกหน่วยนวัตกรรมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ที่ จ.ขอนแก่น คาดว่า จะเข้าร่วมโครงการในช่วงตุลาคม 2567ขณะเดียวกันเชิญชวนคลินิกหน่วยนวัตกรรมเข้าร่วมโครงการ ทั้งคลินิกชุมชนอบอุ่น และคลินิกทันตกรรม
สปสช. ลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ตรวจเยี่ยมคลินิกหน่วยนวัตกรรมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ที่ จ.ขอนแก่น คาดว่า จะเข้าร่วมโครงการในช่วงตุลาคมนี้ ขณะเดียวกันเชิญชวนคลินิกหน่วยนวัตกรรมเข้าร่วมโครงการ ทั้งคลินิกชุมชนอบอุ่น และคลินิกทันตกรรม ซึ่งพบข้อมูลว่าผู้ป่วยสิทธิ์บัตรทอง ยังไม่เข้าถึงบริการดังกล่าว
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช. พร้อมด้วยดร.ภก.ณรงค์ อาสายุทธ ผู้อำนวยการ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น ลงพื้นที่เยี่ยมหน่วยนวัตกรรมเข้าร่วมโครงการในระยะที่4 ก่อนคิกออฟทั่วประเทศว่า สปสช. มีคลินิกนวัตกรรม ที่เข้าร่วมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ซึ่งจังหวัดขอนแก่นจะเข้าร่วมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวในระยะที่ 3 คือช่วงประมาณตุลาคมนี้
คณะฯ ลงเยี่ยมคลินิก “หมอแคน บ้านทุ่ม พี่เพิ่งตัดสินใจเข้าร่วมในโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยทางสปสช. ได้มอบป้ายคลินิกชุมชนอบอุ่นเป็นสัญลักษณ์ในการเข้าร่วมโครงการ
นายแพทย์ พิทยาทร เวียงทอง แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว คลินิกหมอแคน ระบุว่า คลินิกหมอแคน เป็นคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมเวชศาสตร์ครอบครัว รักษาผู้ป่วยทั่วไปและผู้ป่วยสิทธิ์ประกันสังคม มีผู้ป่วยอยู่ประมาณวันละ 30 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม จ่ายเองในส่วนผู้ป่วยทั่วไป โดยรักษาโรคทั่วไป ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ให้การรักษาตั้งแต่ส่งเสริมป้องกันโรคฟื้นฟู และผู้ป่วยระยะสุดท้าย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มารับการรักษาจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด และผู้ป่วยโรคเบาหวานความดัน
”คลินิกตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา มองว่าเป็นการให้ประชาชนในสิทธิบัตรทองเข้าถึงการ รักษาอาการต่างๆเบื้องต้นได้ที่คลินิก เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาลใหญ่ในพื้นที่ ในอนาคตมีแผนที่จะเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ประจำที่คลินิกเพื่อรองรับประชาชนสิทธิ์บัตรทองที่จะมาใช้บริการคลินิกเพิ่มขึ้น โดย สามารถรองรับผู้ป่วยที่จะเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 50 รายต่อวัน“ นายแพทย์ พิทยาทร กล่าว
ทั้งนี้ หากผู้ป่วยมีอาการที่มากขึ้นสามารถส่งต่อยังโรงพยาบาลหลัก เช่นโรงพยาบาลขอนแก่น กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ โดยอยู่ระหว่างการเชื่อมข้อมูลผู้ป่วย กับโรงพยาบาลหลัก ตามปกติเมื่อต้องส่งตัวผู้ป่วยจากคลินิกโรงพยาบาลก็จะทำหนังสือส่งตัวให้กับผู้ป่วยถือไปอยู่แล้ว
“มีกลุ่มแพทย์รุ่นพี่ แลักลุ่มแพทย์ด้วยกันเองที่เปิดคลินิกในจังหวัดนำร่องโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ไปก่อนหน้านี้แล้ว ยังไม่พบปัญหาอะไรที่น่ากังวลใจต่อการเบิกจ่ายเงินค่ารักษา จากทาง สปสช.ซึ่งทางสปสช.ยืนยันว่าจะมีการ เบิกจ่ายค่ารักษาให้กับคลินิกภายใน 3 วัน
จากนั้น คณะฯ สปสช. ลงเยี่ยม คลินิกทันตกรรม “ทันตกรรมไดมอนด์เด็นทัล” โดยมีนางสาวรสสุคนธ์ รำมะนา เจ้าของคลินิก ทันตกรรมไดมอนด์เด็นทัล ต้อนรับ
นพ.จเด็จ กล่าวว่า คลินิกทันตกรรม ภาพรวมทั่วประเทศ มีคลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมโครงการอยู่ประมาณ 893 แห่ง ซึ่งรูปแบบการจ่าย สปสช. ใช้ระบบ การจ่ายเฉลี่ยต่อครั้ง ครั้งละ 700 บาท รวม 3 ครั้งต่อปี เป็นเงิน 2,100 บาท ผู้ป่วย สิทธิบัตรทองสามารถเข้ารับบริการทันตกรรมได้ที่คลินิกทันตกรรมที่ร่วมโครงการ
“ให้สังเกตป้าย คลินิกทันตกรรมชุมชนอบอุ่น ให้บริการขูด อุดถอนฟัน เคลือบฟลูออไรด์ เป็นต้น ซึ่งหากประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจรักษาฟันพื้นฐานได้ ก็จะลด ปัญหาสุขภาพ ทางช่องปากที่ซับซ้อน ที่จะต้องส่งต่อไปรักษายังโรงพยาบาล ”
เลขาธิการสปสช . ระบุว่า ผู้ป่วยทันตกรรม สิทธิ์บัตรทอง ส่วนหนึ่ง ไปรักษาที่โรงพยาบาล ทำให้คิวการรักษาฟัน ภายในโรงพยาบาลหลัก มีจำนวนมาก บางรายต้องรอคิวนานกว่าหลายเดือน บางรายรอคิวกว่า 1 ปีถึงจะได้รับการรักษา ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีคลินิกทันตกรรม ที่รองรับผู้ป่วยสิทธิ์บัตรทอง คลินิกทันตกรรมส่วนหนึ่งเป็นของภาคเอกชน
“การที่ภาคเอกชนมา เข้าร่วมโครงการ จะทำให้ประชาชนสิทธิบัตรทองสามารถเข้าถึงการรักษาฟัน ตรวจรักษาสุขภาพช่องปากได้ง่ายขึ้น โดย ประชาชน สิทธิบัตรทอง สามารถนำบัตรประชาชนมารักษาได้ที่คลินิกทันตกรรม ซึ่งจะมีระบบตรวจสอบสิทธิก่อนเข้ารับบริการ“ นพ.จเด็จกล่าวและว่า
ในประเด็น ค่าใช้จ่ายทันตกรรม 700 บาทต่อครั้งนั้น มาจาก การพูดคุยหารือกับทางทันตแพทย์สภา แล้ว โดยจะมีการติดตามผลของการเข้าร่วมโครงการ คลินิกต่างๆด้วย สำหรับภาพรวม หลังจากการนำร่องโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวใน 45 จังหวัด พบว่าไม่ได้มีปัญหาผู้ป่วย เข้ารักษาอย่างโรงพยาบาลหลักจนแออัด หรือรองรับไม่ไหว ขณะที่จากการสำรวจ การใช้บริการคลินิกทันตกรรมในโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่นั้นพบว่าประชาชนพึงพอใจ ในการใช้บริการมากที่สุด
ทั้งนี้ จะมีการพูดคุยกับโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดขอนแก่น เช่นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทย์ที่ส่วนใหญ่มีความกังวลต่อการเข้าร่วมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว.
นอกจากนี้ในส่วน งบประมาณ ค่าใช้จ่ายของคลินิกหน่วยนวัตกรรม ที่เข้าร่วมโครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว วางไว้อยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาท ขณะที่งบประมาณระหว่างโรงพยาบาลอยู่ที่ 6,000-7,000ล้านบาท โดยจะมีการเก็บข้อมูล พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 11 มาใช้บริการยัง หน่วยนวัตกรรมที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทางสปสช.ตั้งเป้า ที่จะให้ผู้ป่วยมายังหน่วยนวัตกรรมเหล่านี้อยู่ที่ ร้อยละ20 .