จุฬาฯ เปิดตัวแอพพลิเคชั่น eartone ในการตรวจภาวะสมองเสื่อมจากเสียงพูดที่ได้ยิน เริ่มการคัดกรองตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์” มีอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศไทยเข้าสู่ สังคมสูงวัย วิทยาการความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และนวัตกรรม ด้วยความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Royal Academy of Engineering ประเทศอังกฤษ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้พัฒนา Application ตรวจการได้ยินด้วยคำพูด ทำให้สามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้สูงอายุมีความเสี่ยงสมองเสื่อมหรือไม่ ช่วยให้เราสามารถป้องกันและชะลอโรคนี้ได้ในอนาคตโดยเฉพาะผู้สูงอายุ 60,70 ปี
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนา CHULA the Impact ครั้งที่ 14 เรื่อง “บ่งชี้ความเสี่ยงสมองเสื่อมด้วยการใช้เทคโนโลยี Application ตรวจการได้ยินด้วยคำพูด” เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของนวัตกรรมและแอปพลิเคชันในการตรวจภาวะสมองเสื่อมจากเสียงพูดที่ได้ยิน การจับใจความต่างๆ โดยวิเคราะห์การแปลผลทางด้านภาษาของสมอง ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ว่าในอนาคต 5 – 10 ปีข้างหน้าผู้นั้นจะมีโอกาสมีภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ได้มีการนำองค์ความรู้จากประเทศอังกฤษมาสร้างห้องแลปไร้เสียงสะท้อนที่จำลองสภาพเหมือนจริงของเสียงที่เข้ามาจากทิศทางต่างๆ ด้วยคำพูดภาษาไทยเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อใช้ทดสอบการได้ยินและความสามารถในการประมวลผลเสียงพูดในระดับสมอง ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ทั้ง IOS และ Android
โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมเปิดงานและ
วิทยากรผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย อ.ดร.ยุทธนา รุ่งธรรมสกุล อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์การได้ยิน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.นพ.ชัยภัทร ชุณหรัศมิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อ.ดร.พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการ ได้ยิน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
การพัฒนา Application ตรวจการได้ยินด้วยคำพูด มีที่มาจากโครงการ Thai Speech Acoustic Virtual Reality (Thai-SAVR) test for the detection of early dementia โดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมมือกับ University College London ประเทศอังกฤษ ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก Royal Academy of Engineering ประเทศอังกฤษ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผ่านโครงการ Tranforming System through Partnership ในการพัฒนาการตรวจการได้ยินด้วยคำพูดภาษาไทย เพื่อดูการแปลผลของสมองด้านภาษา
ความร่วมมือในโครงการนี้ มุ่งหวังให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็น Hub ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเรื่องการตรวจการได้ยินด้วยคำพูดเพื่อดูการแปลผลของสมองด้านภาษา
“แอพพลิเคชั่น eartone ในการตรวจภาวะสมองเสื่อมจากเสียงพูดที่ได้ยิน หากเริ่มมีปัญหาการได้ยินเสียงไม่ชัดนานๆ ตัวสมองที่มีส่วนในการแปรผลอาจเสื่อมลงไปและนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังมีการเช็คการแปรผลระดับสมอง ซึ่งในตัวแอพพิลเคชั่นจะมีทั้งตัวเลข เสียงได้ยินจากตัวเลขเพื่อให้กดซึ่งจะเป็นการเช็คเบื้องต้น หากพบว่ามีปัญหาก็จะมีการทำนัดพบแพทย์คลินิกหรือรพ.ใกล้บ้านได้ เกณฑ์อายุที่จะเริ่มการคัดกรองตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ถ้าตรวจพบเร็วจะได้รีบทำการรักษากระตุ้นการได้ยินให้กลับมาปกติและเป็นการป้องกันสมองเสื่อมตอนอายุ 60,70 ปีได้”
ปัจจุบันกำลังเข้าสังคมผู้สูงอายุแล้ว และก็มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุมากกว่า อายุ 60 ปีขึ้นไปถึง 12 ล้านคน ตัวเลขคราวๆภาวะสมองเสื่อมอยู่ที่ 5-10% เราคาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุที่สมองเสื่อมประมาณ 1 ล้านคน ถ้าเกิดภาวะสมองเสื่อมแล้วก็จะยากลำบากทั้งตัวคนไข้เอง ครอบครัว และสังคมรอบด้าน การป้องกันไม่ให้เป็นภาวะสมองเสื่อมจึงสำคัญไม่น้อยกว่าการวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อม เราต้องเริ่มตั้งแต่ไม่มีภาวะสมองเสื่อม ผู้สูงอายุที่ตรวจการได้ยินก็ต้องตรวจเรื่องการทำงานสมองร่วมด้วย ภาวะสมองเสื่อมแล้ว และหูตรึงด้วย คุยไม่รู้เรื่องแล้วตัวผู้ดูแลจะดูแลได้ค่อนข้างยากมาก หลักๆแล้วต้องการให้ผู้ที่สมองเสื่อมแล้ว จุฬาฯตัองการเน้นเรื่องคุณภาพชีวิต การได้ยิน พูดคุยได้มากกว่า ส่วนเรื่องการป้องกันที่ยังไม่เสื่อม เแต่มีภาวะริ่มหูตรึงแล้ว สมองยังไม่ฝ่อ รีบกระตุ้นป้องกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ”