ทพ.อรรถพร รองสปสช. เยี่ยมชมและรับฟังระบบ “Multidisciplinary care ” สำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ” ที่คณะทันแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 29 สค. 67 ที่โรงแรมวินทรี จ.เชียงใหม่ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. ร่วมพิธีเปิดงานสัมมนาวิชาการเรื่อง“Multidisciplinary care สำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ”
โดยมีศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการ เรื่อง“Multidisciplinary care สำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ อย่างเป็นองค์รวมได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปพัฒนาระบบการเรียนการสอนและการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เกิดการผลักดันนโยบายระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษในระดับประเทศ และมีผศ.ทพ.ดร.นฤมนัส คอวนิช คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ คณาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ นักวิจัย ร่วมรับฟังครั้งนี้
พร้อมกันนี้ยังมีการเสวนาเรื่อง “บทบาทของคณะทันตแพทย์ในการเป็นส่วนหนึ่งของระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ”โดยมี นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) รศ.ทพ.ดร.ไชยรัตน์ เฉลิมรัตนโรจน์ ประธานราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทย และ ทพญ.วรารัตน์ ใจชื่น จากกองบริหารการสาธารณสุข
ภายหลัง เสวนา คณะทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. พร้อมด้วย ทพญ.ปาริชาติ ลุนทา ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัด สปสช.เขต1 เชียงใหม่ ลงพื้นที่เยี่ยมกันมและรับฟัง ระบบในการดูแลผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) โดยมีผศ.ทพ.ดร.นฤมนัส คอวนิช คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ทพญ.ดร.สการัตห์ ณ ลำปาง รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจการพิเศษ ผศ.ทพญ.อรนิดา วัฒนระตน์ หัวหน้าสาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก ผศ.ทพ.ดร.จิตจิโรจน์ อิทธิชัยเจริญ ผอ.รพ.ทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มช. พาเยี่ยมชม “คลินิกทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ9/1”
ผศ.ทพ.ดร.นฤมนัส กล่าวว่า แนวโน้มคนไทยเริ่มมีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีช่วงอายุและมีชีวิตยาวขึ้น จึงต้องมีระบบบริการสาธารณสุขดี และมีคนที่ต้องการได้รับการดูแลจากสถานพยาบาลที่มีศักยภาพดูแลมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มคนพิเศษในภาคเหนือตอนบน หลังจากคณะทันตแพทย์เชียงใหม่เปิดหน่วยบริการ “Multidisciplinary care สำหรับผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษ” คนที่รู้เริ่มทยอยมาเข้ารับบริการมากขึ้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีคนไข้ที่มารับบริการที่นี่มีจำนวนมากขึ้น
“ มีคนไข้เด็กพิเศษ ที่ต้องได้รับการดูแลต่างจากเด็กปกติ และจำเป็นที่ต้องการ หมอที่ไปหาคนไข้ ซึ่งต้องจัดสถานที่ให้เหมาะสมกับคนไข้กลุ่มพิเศษที่ อีกทั้งยังต้องมีความร่วมมือของหมอหลายสาขา คนไข้กลุ่มนี้อาจจะมีโรคอื่นๆเช่นหัวใจ เบาหวาน น้ำหนักเกินจะต้องมีแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางพิเศษมากขึ้น” คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณบดี คณะทันตแพทยศาสตร์กล่าวว่า จึงมีความจะต้องมีความร่วมมือกับแพทย์/ทันตแพทย์หลายสาขา บางอย่างก็ยังไม่เกิดขึ้นชัดเจน ดังนั้นการจัดระบบบริการทางทันตกรรมและการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากสำหรับประชากรกลุ่มนี้ จึงเป็นหน้าที่องวิชาชีพทันตกรรม
“โดยคลินิกพิเศษได้เปิดมา 3-4 ปี จำนวนคนไข้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีการคัดกรองคนไข้ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ส่วนมากจะเป็นคนไข้เด็กที่มีความบกพร่องโดยคนไข้กลุ่มนี้จะมีภาวะทางช่องปากมีจำนวนไม่น้อย บางคนจำเป็นต้อง ดมยาสลบและต้องผ่าตัดฟันคุด อย่างเร่งด่วน กลุ่มเด็กพิเศษจะมีปัญหา ทางช่องปากเพราะไม่สามารถสื่อสารกับคนไข้หรือคนไข้ไม่สามารถควบคุมวิถีชีวิตของตนเองได้”ผศ.ทพ.ดร.นฤมนัส กล่าว
ด้านทพ.อรรถพร กล่าวว่า รู้สึกประทับใจมาก ที่คณะทันตแพทย์ มช.เน้นและให้ความสำคัญโดยนำอาการเอาคนไข้เป็นศูนย์กลาง หากคนไข้มารับบริการเกิดปัญหา จะจัดแพทย์เชี่ยวชาญอยู่ในจุดเดียวและมีอาการที่เกี่ยวข้องด้านใดคุณหมอก็จะมาดูแลช่วยกันรักษาในทันที
รองเลขาธิการกล่าวว่า ในส่วนของสปสช.จะเข้ามาสนับสนุนการจ่ายเฉพาะเบิกได้ตามที่ให้บริการจริง ดังนั้น ระบบทันตกรรม แบบจ่ายตามราคาตามรายบริการ(OP Fee Schedule) ที่มี 88 รายการนั้นจะครอบคลุมในการให้บริการผู้ป่วยกลุ่มพิเศษและที่สำคัญกลุ่มเด็กพิเศษกลุ่มนี้มีปัญหาในการดูแลสุขภาพช่องปากได้ตลอด และอีกทั้ง สปสช.ยินดีสนับสนุนเพราะหากเป็นโรงพยาบาลในระบบปกติทั่วไปจะมีคนไข้เยอะมาก
“การที่โรงเรียนแพทย์เข้ามาจัดบริการในกลุ่มเด็กพิเศษที่มีทรัพยากรบุคคลพร้อมอยู่แล้ว จะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีความต้องการพิเศษได้เข้าถึงมากยิ่งขึ้น.” รองเลขาธิการสปสช.กล่าว