
“โครงการขับเคลื่อนนโยบายโรงพยาบาลในเขตมือง จ.ปทมุธานี เพื่อผู้ป่วยภาวะวิกฤต-ฉุกเฉิน” สร้างความร่วมมือครั้งสำคัญ พัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขเพื่อชีวิตประชาชน
20 กุมภาพันธ์ 2568 – ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต กระทรวงสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี โรงพยาบาล ภาครัฐและโรงพยาบาลเอกชน จัด “งานประชุมวิชาการนำสนอผลการดำเนินงานและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ (MOU) โครงการขับเคลื่อนนโยบาย โรงพยาบาลในเขตเมือง จ.ปทุมธานีเพื่อผู้ป่วยภาวะวิกฤต ฉุกเฉิน” ภายในงานได้รับเกียรติจาก นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกล่าว เปิดงาน, นายคมสัน ญาณวัฒนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปทมุธานี เป็นประธานร่วมเปิดงาน, นายแพทย์อุดม อัศวุ ตมางกุร สาธารณสุขนิเทศ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 เป็นผู้กล่าวรายงาน และ นายแพทย์ภุชงค์ ไชยชิน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี เป็นผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับโรงพยาบาลเอกชน 9 แห่ง ดังนี้ 1. โรงพยาบาลแพทย์รังสิต 2. โรงพยาบาล บางปะกอก-รังสิต2 3. โรงพยาบาล กรุงไทยเวสเทิร์นจ.นนทบุรี 4. โรงพยาบาล ภัทร-ธนบุรี 5. โรงพยาบาล เกษมราษฎร์ ปทุมธานี 6. โรงพยาบาล ซีจีเอสลำลูกกา 7. โรงพยาบาลกรุงสยาม เซนต์คาร์ลอส 8. โรงพยาบาล ปทุมเวช 9. โรงพยาบาลเปาโล รังสิต และได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สมชาติ สุจริตรังษี ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4, นายแพทย์ชัยรัตน์ วงศ์วรพิทักษ์ รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลปทุมธานีและ นายสิทธิศักดิ์ กี่สวัสดิ์คอน ผู้แทนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ร่วมเป็นสักขีพยาน
โครงการขับเคลื่อนนโยบาย โรงพยาบาลในเขตเมือง จ.ปทมุธานี มีวัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาการบริการร่วมกันระหว่าง โรงพยาบาลรัฐ และ โรงพยาบาลเอกชน
2. ยกระดับระบบบริการโรงพยาบาลในเขตเมือง ให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
3. ลดอัตราการเสียชีวิตระหว่างรอเตียง ด้วยการส่งต่อผู้ป่วยแบบไร้รอยต่อ
4. เพิ่มความมั่นใจในระบบ สิทธิการรักษาเพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (UCEP) และสิทธิหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า (UC) สำหรับผู้ป่วยหลังภาวะฉุกเฉินวิกฤต และ โรงพยาบาลเอกชน
ผลลัพธ์ของโครงการฯ
1. แก้ปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตรอเตียง, รอห้องผ่าตัด(OR) และห้อง ICU
1.1. ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตระหว่างรอการรักษา
1.2. ลดการเดินทางส่งตัวผู้ป่วยข้ามเขตจังหวัด (กรณีมีแหล่งพักอาศัยในจังหวัดปทมุธานีแต่มีสิทธิ์รักษาที่จังหวัดอื่น) 2. เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลรัฐ และ โรงพยาบาลเอกชน
2.1. ผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยี แอปพลิเคชันกลาง สำหรับอัปเดตข้อมูลผู้ป่วยร่วมกันแบบเรียลไทม์ 2.2. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรัฐ-เอกชน ได้รับข้อมูลเดียวกัน ลดโอกาสเกิดการสื่อสารผิดพลาด
3. สร้างความมั่นใจให้แก่ โรงพยาบาลเอกชน
3.1. พัฒนาระบบ Refer Back เพิ่มความมั่นใจว่า โรงพยาบาลรัฐ มีเตียงพร้อมรับผู้ป่วยกลับมาดูแลต่อเมื่อพ้นภาวะ ฉุกเฉินวิกฤตแล้ว
3.2. กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินวิกฤต ในเวลา 72 ชั่วโมง
3.3. กองทุนสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี รองรับค่าใช้จ่ายหากผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตร
ทอง) ต้องอยู่โรงพยาบาลเอกชนต่อหลังจาก 72 ชั่วโมง เนื่องจาก ผู้ป่วยยังไม่พ้นวิกฤต / โรงพยาบาลรัฐไม่มีเตียง
รองรับ
4. คลายกังวลให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน จังหวดัปทุมธานี
4.1. เมื่อเกิดเหตุภาวะวิกฤตฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการบริการได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาพยาบาล ตามสิทธิ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)
โดยปัจจุบัน โครงการขับเคลื่อนนโยบายโรงพยาบาลในเขตเมืองจังหวัดปทุมธานี
มีจำนวนเตียงในห้อง ICU เพิ่มขึ้นเป็น 143 เตียงและมีจำนวนห้องผ่าตัด (OR) เพิ่มขึ้นเป็น41 ห้อง ทำให้การรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในระยะเวลาที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่ใช้สิทธิ์ในระบบโครงการโรงพยาบาลในเขตเมืองแล้วทั้งสิ้น 30 ราย
(ข้อมูล ณ วันที่ 14 ก.พ. 2568)
“โครงการฯ นี้ไม่เพียงเป็นการพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขให้แข็งแกร่งขึ้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความ ร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดปทุมธานีได้รับการรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ถือว่าเป็นต้นแบบระบบบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน”
ดูรายละเอียด หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี
Facebook : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี โทร: 02-581-6454 ต่อ 112-3